สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text | หน้าค้นหา

เนตติปกรณ์แปล : 2. อุทเทสวาระ

สารบัญ
       
       [ 1 ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ 16)” เป็นต้นนั้น หาระ 16 เป็นไฉน ? คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ
       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งหาระนั้น (สำหรับจดจำหาระ 16)
       หาระ มี 16 คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ
       หาระ 16 ที่ข้าพเจ้าแสดงนั้นไม่มีการปะปนระคนกัน โดยเนื้อความ. การจำแนกโดยนัยอันสมควรจะมีโดยพิสดาร (ต่อไป)
       [ 2 ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ 16)” เป็นต้นนั้น นัย 5 เป็นไฉน ? คือ นันทิยาวัฏฏนัย, ติปุกขลนัย, สีหวิกกีฬิตนัย, ทิสาโลจนนัย, และ อังกุสนัย.
       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งนัยนั้น (สำหรับจดจำนัย 5)
       พึงทราบว่านัยทั้งปวงมี 5 ดังนี้ คือ นัยที่ 1 ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ, นัยที่ 2 ชื่อว่า ติปุกขละ, นัยที่ 3 อันสามารถนำมาซึ่งอรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะ, ท่านกล่าวนัยที่ 4 อันประเสริฐว่า ทิสาโลจนะ, นัยที่ 5 ชื่อว่า อังกุสะ
       [ 3 ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ 16)” เป็นต้นนั้น มูลบท 18 เป็นไฉน ? คือ กุศลบท 9 และอกุศลบท 9.
       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น อกุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ, สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้.
       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น กุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ สมถะ, วิปัสสนา, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ, อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, และ ออัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในกุศลบทเหล่านี้.
       9 บทเหล่านี้ คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ และ วิปัลลาส 4 (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, อัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
       9 บทเหล่านี้ คือ สมถะ, วิปัสสนา, กุศลมูล 3 (อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ) และสติปัฏฐาน 4 (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
       สมถะเป็นต้นที่เป็นฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท และตัณหาเป็นต้นที่เป็นฝ่ายอกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท. 18 บทเหล่านี้แลชื่อว่า มูลบท.
       อุทเทสวาระ จบ
       ทั้งอรรถะและพยัญชนะ โดยใช้ หาระ 16 เป็นหลักในการพิจารณาพยัญชนะ (ศัพท์) และ นัย 3 อย่าง คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย เป็นหลักในการพิจารณาอรรถะ ส่วนนัยที่เหลืออีก 2 อย่าง คือ ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย เรียกว่า กรรมนัยหรือโวหารนัย เป็นเพียงการตรวจดูธรรมที่แสดงแล้วโดยอรรถนัย 3 อย่างข้างต้นเท่านั้น ไม่มีการพรรณนาอรรถต่างหาก
       หาระและนัยเหล่านี้ ผู้ศึกษาสามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้ เพราะท่านกำหนดจากพระบาลีแล้วนำมาวางเป็นกฎเกณฑ์ เป็นหลักในการศึกษา ดังนั้นคัมภีร์เนตติจึงจัดเป็นสังวรรณนาสูตรที่ขยายความตามสมควรแก่พระบาลีที่เป็นสังวัณเณตัพพสูตร หรือสูตรที่ควรขยาย
       3. นิทเทสวาระ
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)